วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ความสุข.........อยู่ในใจเรา


  
     วิธีพลิกความทุกข์มาเป็นความสุข
คือการปล่อยวางทางใจ ใช้สติตามรู้สภาพแห่งการผ่านไป
เห็นมัน เข้าใจมัน และทิ้งมันไว้เบื้องหลัง
อย่าเอามายึดติดกับปัจจุบันและอนาคตที่ต้องก้าวเดินต่อ

กระบวนทัศน์ของความสุขเกิดขึ้นได้จากการยอมรับธรรมชาติ
และไม่พยายาม "เปลี่ยน" ในสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตามหลักธรรมะ
นั่นคือความเสื่อมสลายของร่างกาย
ความไม่แน่นอนจากพฤติกรรมคนรอบข้าง แม้กระทั่งความคิดความอ่านในใจของตนเองที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เมื่อใดที่เกิดอารมณ์เศร้าซึม ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์
ให้ใช้สติรับรู้ในความรู้สึกเป็นทุกข์นั้น
บอกตัวเองว่าเป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกินที่จะต้องเจอกับความรู้สึกนี้เข้าบ้าง

ไม่มีประโยชน์อะไรจะมาเสียเวลาคิดหาหนทางเปลี่ยนแปลงปัจจัยรอบข้าง
ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมอย่างที่เราอยากให้เป็น
เพราะการเปลี่ยนความคิดหรือความรู้สึกของตัวเอง
ย่อมง่ายกว่าความพยายามเปลี่ยนแปลงความคิดหรือพฤติกรรมคนอื่นเป็นไหน ๆ

การปรับตัวเองให้เข้าใจธรรมชาติและสภาพแห่งอนิจจัง
จะช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เพราะเรารู้และเท่าทันภาวะของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ

เมื่อรู้เช่นนี้ก็สามารถเติมความสุขในใจด้วยการให้กำลังใจตัวเองได้ว่า ชีวิตจะสมบูรณ์ได้ต้องมีทั้งความสุขและทุกข์ปะปนกันไป
เมื่อสุขแล้วเดี๋ยวก็ต้องทุกข์
และเมื่อใดที่เกิดทุกข์แล้วสักพักความสุขก็จะตามมา
เหมือนฟ้าที่ย่อมใสหลังผ่านพายุฝน

ไม่มีประโยชน์หากพยายามจะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการไม่หยุดนิ่ง
วิธีอยู่อย่างมีความสุข คืออย่าปล่อยให้ใจเป็นทุกข์
เมื่อสุขนั้นเดินสวนทางกับสภาวะแห่งธรรม
ลองปรับความคิดให้เท่าทันหลักธรรมชาติที่ต้อง "เปลี่ยน" ดูสักครั้ง
แล้วจะรู้ว่าชีวิตนี้มันไม่มีอะไรจริง ๆ

-----------------------------
*** ขอขอบคุณบทความจากนิตยสารกุลสตรี คอลัมน์ Healthy Mind 

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

เพลงเพื่อชีวิต


มีเวลาว่าง มานั้งจดเพลง
บรรเลงกรย้อนคิด เรื่องถูกเรื่องผิด
คิดลงเพลง บรรเลงสอน
สังคมไม่แน่นอน สะท้อนความจริงยิ่งกว่าในเพลง
ท่านผู้ฟังจงคิดเอง เราบรรบทเพลงให้ท่านรู้....

คาราบาว คือ ตำนานไม่ใช่การชักศึก
+ บางคนฟังแล้วคิดว่าเนื้อหารุนแรง
+ แต่บางคนแล้วคิดว่าเป็นการหาเรื่องสร้างความแตกแยก
* แต่มันเป็นการบอกด้วยบทเพลง และเรื่องจริงที่ไม่อาจพูดออกมาได้

      คุณเชื่อไหม ว่าเพลงเพื่อชีวิตบางเพลงสารมารถบอก ความรู้สึกความเป็นจริง บางคนฟังแล้ว ทำให้มีกำลังใจในการลุกขึ้นเดินต่อไป สุ้ต่อกับอุปสรรค แล้วในสมัยนี้ยิ่งมีเพลงใหม่ๆผุดขึ้นมา จนทำให้ความเป็นไทยเลือนหาย แล้วเด็กไทยทุกวันนี้ ยิ่งสนใจอะไรง่ายด้วย ฟังเพลงเกาหลี อะไรมั้งละ แล้วเสียงระนาดฉิ่ง ฉาบ ก็กลายเป็นเรื่องที่เชยไปเลย.............

เพลง หลงวัฒ สท้อนความจริงในสังคม



เพลง กลับกลาย ฟังดูก็สนุกและมีสาระด้วย

และสุดท้ายผมฝากประวัติของคาราบาว กับมาลีฮวนน่านะครับ ชอบ 2 วงนี้มาก


        
  ระวัติคาราบาว

        วงดนตรี “คาราบาว” เริ่มต้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยนักศึกษาที่ชื่อ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) กับ กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ได้รู้จักกันระหว่างที่ได้ไปศึกษาระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัยมาปัวฯ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งบุคคลทั้งสองร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีชื่อ “คาราบาว” ขึ้นมา คำว่า คาราบาว แปลว่า ควาย เป็นภาษาตากาล๊อก ใช้เรียกควายพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ ควายเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการต่อสู้ แสดงถึงการทำงานหนัก แสดงถึงความอดทน อีกทั้งควายยังเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงาน และถือได้ว่าผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ที่สร้างโลก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ยืนยง โอภากุล จึงได้ใช้คำว่า “คาราบาว” พร้อมกับ “หัวควายมาเป็นสัญลักษณ์ของวงคาราบาว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา
หลังจากสำเร็จการศึกษา กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ได้ทำงานเป็นพนักงานฝ่ายประเมินราคาเครื่องจักรในบริษัทฟิลิปปินส์ ยาวนานถึง 6 ปี ส่วนยืนยง โอภากุล ก็ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย เพื่อเริ่มงานเป็นสถาปนิกที่การเคหะแห่งชาติ พร้อมกับตระเวนเล่นดนตรีในเวลากลางคืนไปด้วย
เมื่อทุกอย่างลงตัว นายยืนยง โอภากุล ก็ได้ลาออกจากงานประจำ มาเอาดีทางด้านดนตรีอย่างเดียว พร้อมชักชวนให้เพื่อนสนิท กิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ที่กำลังทำงานในบริษัทฟิลิปส์ที่ตั้งอยู่สาขาในประเทศไทย ลาออกมาด้วยเช่นกัน เพื่อทำงานด้านดนตรี มาสร้างวงคาราบาว อย่างเต็มตัว

อัลบั้มชุดที่ 1 ของ “คาราบาว” เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2524 ใช้ชื่อชุดว่า “ขี้เมา” โดยมีแอ๊ด และเขียวเป็นแกนนำ ซึ่งเพลงของคาราบาวในยุคนี้ ถือได้ว่าเป็นบทเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากฟิลิปปินส์มาพอสมควร อย่างเช่น ลุงขี้เมา และเพลงที่ถือได้ว่าเป็นเพลงเปิดตัวของวงคาราบาวได้ดีที่สุดคือ เพลงมนต์เพลงคาราบาว ส่วนบทเพลงแรกของคาราบาวที่แอ๊ดได้ประพันธ์ไว้คือ “ถึกควายทุย” เป็นเรื่องราวของการใช้ชีวิตของบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ถูกให้ ดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆ ทุกอัลบั้ม จนกล่าวได้ว่าเป็นเพลงบัลลาดที่ถูกเล่าขานได้ยาวนานที่สุด
หลังจากที่อัลบั้มชุดแรกออกไปแล้วนั้น ยืนยง โอภากุล ได้ชักชวน ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) มือกีต้าร์ และ อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) มือเบส เข้ามาร่วมวงคาราบาว ซึ่งในขณะนั้น เล็กและอ๊อด ได้เป็นนักดนตรีอาชีพประจำอยู่กับวงเพรสซิเด้นส์ และมีภาระกิจจะต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศกับเพรสซิเด้นท์ให้เรียบร้อย จึงกลับมาอยู่กับคาราบาวอย่างเต็มตัว


เข้าสู่ปี พ.ศ. 2525 ยุคสมโภชน์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี อัลบั้มชุดที่ 2 “แป๊ะขายขวด” ได้เกิดขึ้นมา โดยได้ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) เข้ามาเป็นสมาชิกคนที่ 3 ของคาราบาวและร่วมทำอัลบั้มนี้ออกมา โดยให้ พีค๊อกเป็นผู้ผลิต ซึ่งได้ทำเทปออกมา 20,000 ม้วน แต่ขณะนั้นทั้งสองอัลบั้มยังถือว่าไม่สบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่บทเพลงที่โดดเด่นในยุคนี้ก็คือ เพลงกัญชา ที่แอ๊ด คาราบาว มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในการร้อง โดยการลากเสียงได้ยาวนานจนทำให้ผู้ชมต้องเงียบสงัดกันไปเมื่อบทเพลงนี้ถูกร้องขึ้น
ด้วยความมุ่งมั่นของแอ๊ด ทำให้บทเพลงของคาราบาวมีเอกลักษณ์ โดยสะท้อนภาพของสังคมไทยมากขึ้น โดยแอ๊ดได้แต่งเพลงในสไตล์ที่เมืองไทยยังไม่มี ณ ขณะนั้น ในเพลงที่ชื่อว่า “วณิพก” โดยทำดนตรีจังหวะ 3 ช่า สนุกสนาน อีกทั้งเนื้อหาโดนใจคนฟัง และ “วณิพก” นี้เอง ได้ถูกตั้งเป็นชื่ออัลบั้มชุดที่ 3 ของคาราบาว ในปี พ.ศ. 2526 และอัลบั้มนี้เองทำให้ คาราบาวเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่วประเทศมากขึ้น และอัลบั้มชุดนี้ ได้มือเบส ที่ชื่อ ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) เข้ามาร่วมทำงานกับวงคาราบาว


หลังจากนั้นไม่นาน คาราบาวได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 “ท.ทหารอดทน” และถือเป็นอัลบั้มแรกที่คาราบาวโดนแบนเพลง และเพลงที่ถูกแบนก็คือ ท.ทหารอดทน ซึ่งมีเนื้อหาที่ไปพาดพิงเกี่ยวกับทหาร นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่สะท้อนชีวิต เช่นเพลง ตุ๊กตา , คนเก็บฟืน ถือว่าเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมมาก และอัลบั้มชุดนี้ได้ นักดนตรีอาชีพจากห้องอัดอโซน่าเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมกับคาราบาวอย่างเต็มตัว คือ เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่) ตำแหน่งกีต้าร์, อาจารย์ ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ตำแหน่งเครื่องเป่า และ อำนาจลูกจันทร์ (เป้า) ตำแหน่งกลอง


ต่อมาปี พ.ศ. 2527 คาราบาวขึ้นสู่จุดสูงสุด ด้วยอัลบั้มชุดประวัติศาสตร์ ชุดที่ 5 “เมดอินไทยแลนด์” เป็นอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียงให้กับคาราบาวมากที่สุด ด้วยบทเพลงที่ชื่อ “เมดอินไทยแลนด์” ที่มีเนื้อหาประจวบเหมาะกับการลดค่าเงินบาทของรัฐบาลในสมัยนั้น แล้วรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ใช้สินค้าของไทย ทำให้เมดอินไทยแลนด์เป็นอัลบั้มที่ทะลุเป้า ยอดขายกว่า 5 ล้านตลับ และคาราบาวมีการทัวร์คอนเสิร์ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงนักดนตรีของคาราบาวครั้งสำคัญ ซึ่งมือเบสจากวงเพรสซิเด้นท์ได้เสร็จสิ้นภาระกิจทัวร์คอนเสิร์ตจากอเมริกา และกลับเข้ามาร่วมกับคาราบาว บุคคลผู้นั้นคือ อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) และบุคคลที่ต้องออกจากวงคาราบาวไปด้วยความเสียใจของประชาชน ก็คือ ไพรัช เพิ่มฉลาด (รัช) มือเบสเดิมของคาราบาว ทั้งนี้เป็นเรื่องของการต่อสู้ การทำงานของวงคาราบาว
 ประวัติมาลีฮวนน่า
           ในปีพ.ศ. 2527 กลุ่มนักดนตรีวัยรุ่น จากเด็กบ้านนอก ที่ชอบดนตรีเหมือนกัน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มารวมตัวกัน มี วิวัฒน์ พังแพร่ เปี๊ยก..แสนบอโด. สมพงศ์ ศิวิโรจน์ สุข…………ดิน(นาสาวกรุณา บุญธรรม) และ ธงชัย รักษ์รงค์ บางคนเดินทางมาจากจังหวัดใกล้เคียง มาอาศัยอยู่วัด ศึกษาเล่าเรียนตามวิทยาลัยต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะแยกย้ายกันไปหาทางเลือกในการดำเนินชีวิตของตเองตามความต้องการของแต่ละคน หลายคนไปศึกษาต่อที่กรุงเทพ เมืองในฝันของคนบ้านนอก บางคนก็กลับไปทำนา,เล่นหนัง ตะลุงอย่าง สุข........

ปี 2533 - 34 ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งที่กรุงเทพฯ โดยมี วิวัฒน์ พังแพร่ เป็นผู้ผลักดัน สมพงศ์ ศิวิโรจน์ ธงชัย รักษ์รงค์ และ เปี๊ยก แสนบอโด.. เป็นนักร้องนำ ซึ่งตอนนั้น เปี๊ยก.... ได้อาศัยอยู่กับกลุ่ม พี่ ต๊ะ ตีสองเมือง (producer วงปานามา) และคุณ ชวาลา ชัยมีแรง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ มีกิจกรรม แถวหน้ารามคำแหง อันเป็นที่มาของเพลง เรือน้อย,แสงจันทร์(เดิมนางฟ้าอรชร)


ปีพ.ศ.2535 คฑาวุธ ทองไทย ได้เข้ามาร่วมงานในหน้าที่นักร้องนำของวงในภายหลัง เนื่องจาก เปี๊ยก แสนบอโด ไม่สามารถทำหน้าที่นักร้องนำได้ โดยการเสนอแนะจาก สมพงศ์ ศิวิโรจน์ พร้อมกับ บุญมา สองเมือง (วงมาตาฮารี) แต่ธงชัยและวิวัฒน์ ไม่สามารถ ตกลงกันได้ด้วยเพราะการทำงานทางด้านดนตรีทั้งสองคน ไม่เหมือนกับ เปี๊ยก ซึ่งหลากหลายกว่า จึงทำให้การทำงานเพลงต้องหยุดค้างไว้



ธงชัยจึงนำเพลงต่างๆ ที่ประพันธ์ไว้เสร็จสมบูรณ์ มีเพลง เรือรักกระดาษ,หัวใจพรือโฉ้,เด็กน้อย,รักสาวพรานนก,นักเรียนจนๆ ฯลฯ ลงไปทำต่อที่ภาคใต้กับเพื่อนๆ นักดนตรีที่เคยร่วมเล่นกันมาตามสถานที่ต่างๆ เช่น จังหวัดสุราษฎ์ธานี เกาะสมุย จังหวัดกระบี่ และภูเก็ต ต่อมากลุ่มทำงานศิลปะและดนตรีรุ่นพี่ กลุ่มด้ามขวานได้ขออนุญาตนำเพลง เด็กน้อย จาก สมพงศ์ ศิวิโรจน์ ไปบันทึกเทป อัลบั้ม คะยั้นคะยอ ใช้ชื่อวงดนตรีว่า "ด้ามขวาน" ออกจำหน่ายในนามอิสระประมาณปลายปี 2536 และนำกลุ่มมาลีฮวนน่ามารู้จักกับ โมริ studio ในเวลาต่อมาของต้นปี 2537



ก่อนหน้านั้น ธงชัย รักษ์รงค์ เล่นดนตรีรับจ้างที่จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งข่าวจาก สมพงศ์ ให้ ธงชัย ขึ้นมากรุงเทพฯ เพื่อทำเพลงให้เสร็จและตกลงจะมีสมาชิกในวงคือ สมพงศ์ ศิวิโรจน์ ธงชัย รักษ์รงค์วิวัฒน์ พังแพร่ และคฑาวุธ ทองไทย เป็นนักร้องนำ



สมพงศ์ ได้นำคำภาษาอังกฤษ "MARIHUANA" อ่านว่า "แมร ริ ฮัว น่า" มาร่วมคิดหาชื่อวงกับธงชัย และธงชัย เสนอข้อคิดเห็นว่า ถ้าหากนำคำสามัญมาตั้งเป็นชื่อทางการค้า อาจทำให้ผู้อื่นนำชื่อวงไปหาผลประโยชน์ได้ในภายหลัง จึงตกลงที่จะเปลี่ยนชื่อ เป็นคำประดิษฐ์ว่า "มาลีฮวนน่า" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "MALEEHUANA"



คฑาวุธ เป็นครูสอนที่ ร.ร. สาธิตศิลปากร นครปฐม เป็นเหตุให้สมพงศ์ และ ธงชัย ต้องไปซ้อมดนตรีเตรียมความพร้อมที่ทับแก้ว นครปฐม ทำให้วิวัฒน์ไม่สะดวกเพราะทำงานประจำที่วัดพระแก้วพระราชวังหลวง) ทำให้เดินทางมาทำงานด้วยกันไม่สะดวก จึงขอยุติบทบาทในครั้งนั้น ทำให้มีความยากลำบากในการทำงานมากขึ้น เพราะไม่มีนักดนตรีเหลือให้ทำงานเลย สมพงศ์ ซึ่งรับหน้าที่ประพันธ์เพลงเป็นหลักอยู่แล้ว จึงไม่สามารถช่วยงานทางด้านดนตรีได้มากนัก





รายชื่อเพลงในอัลบั้ม "บุปผาชน"
1. ลมเพลมพัด ที่ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดย คฑาวุธ ทองไทยและธงชัย รักษ์รงค์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง ทำนองเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ คือท่อนคำร้อง ทำนอง ว่า ลมเพลมผวน หวนให้คิดคำนึง ถึงบทเพลงแห่งความฝัน ให้ตัวเจ้าด้วยใจฉัน เกินกว่าตัวฉันจะพรรณณา แค่อยากให้เจ้ารับรู้เพียงอยากให้เจ้ารับฟัง
2. หัวใจละเหี่ย ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
3. วิถีคนจร ประพันธ์คำร้องโดยสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ทำนองธงชัย รักษ์รงค์
4. นิรันดร์ ประพันธ์คำร้องโดยสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ทำนองโดยธงชัย รักษ์รงค์
5. ไปไกล ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
6. เรือรักกระดาษ ประพันธ์คำร้องทำนองโดยสมพงศ์ ศิวิโรจน์
7. หัวใจพรือโฉ้ ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
8. ลานนม-ลมเน ประพันธ์คำร้องทำนองโดย เชิดชัย ศิริโภคาและสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ธงชัย รักษ์รงค์ เขียนคำร้องทำนองเพิ่มเติมในท่อนที่ว่า ลานนมลมเนเหมือนดั่งสวรรค์ รักร้อยแสงจันทร์บุปผามาลัย จนจบ
9. รักสาวพรานนก ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
10. ชุ่มฉ่ำในดวงใจ ประพันธ์คำร้องทำนองโดยมาลีฮวนน่า ได้ร่วมกันประพันธ์เพื่อรำลึกถึงการทำงานร่วมกันที่สระน้ำในมหาลัยศิลปากร ทับแก้วจังหวัดนครปฐม 



การทำงานตอนนั้นมีน้องๆ ของสมพงศ์ เพื่อนๆ คฑาวุธ อยู่หลายคน มีคุณติ๊ก,สยาม,ตุ๋ย,ทวี,อาร์ท,กล้า,โก้ย,ตาล ฯลฯ ทุกคนต่างให้กำลังใจกับมาลีฮวนน่ามาก ธงชัยและสมพงศ์ จึงนำ เชิดชัย ศิริโภคา (โก้ย) ซึ่งเป็นเพื่อนของคฑาวุธ มาเป็นสมาชิกแทนวิวัฒน์ที่แยกตัวออกไป สมพงศ์เล่นกีต้าร์เพียงเพื่อประพันธ์เพลงเท่านั้น คฑาวุธ ก็ร้องเพลงได้อย่างเดียว ส่วนเชิดชัย ศิริโภคา ก็ไม่ถนัดในเรื่องดนตรีมากนัก ภาระต่างๆ ในเรื่องดนตรีจึงตกมาอยู่ที่ธงชัยเพียงคนเดียว โชคดีที่คุณฮิเดกิ โมริ ช่วยเล่นดนตรีให้กับมาลีฮวนน่าจเสร็จสิ้นเป็นมาสเตอร์ เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2537 ในอัลบั้มแรกชื่อว่า "บุบผาแห่งเสียงเพลง"



ธงชัยและสมพงศ์ นำมาสเตอร์ไปให้ บริษัท ออนป้า ผลิตเป็นเทบออกมา 2,500 ม้วน ออกวางจำหน่ายตามร้านขายเทปต่างๆ เช่น ร้านน้องท่าพระจันทร์ คลองสาร สวนจตุจักร และตามสถานบันการศึกษาต่างๆ ในสถานะกลุ่มเทปใต้ดิน



จนกระทั่งคุณมาโนช พุฒตาล เจ้าของบริษัท ไมล์สโตน จำกัด ได้ฟังเพลง และ สนใจจึงนำเข้าสังกัด บริษัทไมล์สโตน เรคคอร์ด จำกัด และออกจำหน่ายทั่วประเทศในวันที่ 23 พ.ย. 2537 โดยเปลี่ยนชื่ออัลบั้ม จากบุปผาแห่งเสียงเพลง มาเป็น "บุปผาชน"



เมื่อวงมาลีฮวนน่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากแฟนเพลงทั่วประเทศ ก็เจอปัญหากับการแสดงดนตรีต่อกลุ่มแฟนเพลง เพราะนักดนตรีที่เคยเล่นด้วยกันได้อย่างดีคือ วิวัฒน์ พังแพร่ เปี๊ยก แสนบอโด ต้องออกไปจากวงก่อนหน้านั้น ภารกิจหนักจึงตกมาที่ ธงชัย รักษ์รงค์ เพียงคนเดียว จึงจำเป็นต้องหานักดนตรีรับจ้างมาเพื่อเป็นBACK UP และเตรียมความพร้อมในอัลบั้มที่ 2 ไปด้วย



ธงชัย จึงไปสร้างห้องบันทึกเสียงที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และชักนำกลุ่มเพื่อนนักดนตรีที่เล่นในผับหาดใหญ่ มาร่วมงานคือ สุรพงษ์ เรืองณรงค์ อรรณพ อินทรภักดี ไพฑูรย์ รักษ์รงค์ และนัดนตรีรุ่นใหม่ๆ มาฝึกงานในห้องบันทึกเสียงเช่น มนเฑียร แสงสุวรรณ เอ้ ฯลฯ



ธงชัย ได้ร่วมทำงานเพลงกับศิลปินท้องถิ่นต่างๆ เช่น วงเช-รา หนุ่ย ชัยวัฒน์ อัลบั้มรัก กศน. ฯลฯ จนกระทั่งมาลีฮวนน่าได้ทำอัลบั้มที่ 2 ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2539 ชื่อชุดว่า คนเช็ดเงา และได้เข้ามาจัดการออกแบบภาพปก โดยมอบหมายให้ ตัวเอียด ซึ่งเป็นเพื่อนในกลุ่มมาลีฮวนน่า เป็นผู้ออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการทำงานศิลปะของวงมาลีฮวนน่า ทำให้จินตนาการของแฟนเพลงที่ได้รับสามารถเข้าใจในงานที่นำเสนอได้ละเอียดขึ้น



อัลบั้มคนเช็ดเงานี้ มีเพลงต่างๆ ดังนี้
1. เพลงเขเรือ ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดย สุมิตร นวลมณี
2. หมาหยอกไก่ ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
3. ร้องไห้กับเดือน ประพันธ์คำร้องโดยสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ทำนองโดยธงชัย รักษ์รงค์
4. เด็กน้อย ประพันธ์คำร้องโดยสมพงศ์ ศิวิโรจน์ ทำนองโดย ธงชัย รักษ์รงค์
5. คนเช็ดเงา ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
6. ชะตากรรม ประพันธ์คำร้องทำนองโดย สมพงศ์ ศิวิโรจน์
7. โมรา ประพันธ์คำร้องทำนองโดยคฑาวุธ ทองไทยแล ะเชิดชัย ศิริโภคา
8. ฝุ่น ประพันธ์คำร้องโดยคฑาวุธ ทองไทยและธงชัย รักษ์รงค์ ทำนองโดย ธงชัย รักษ์รงค์
9. คนเลว ประพันธ์คำร้องทำนองโดยกนกพงศ์ สงสมพันธุ์
10. คืนใจ ประพันธ์คำร้องทำนองโดยคฑาวุธ ทองไทยและเชิดชัย ศิริโภคา ยังคงสังกัดบริษัท ไมล์สโตนเรคคอร์ด จำกัด



การเผยแพร่อัลบั้มที่ 2 นี้ สมาชิกมาลีฮวนน่า คือ เชิดชัย ศิริโภคา ก็ยุติบทบาทไป การแสดงของวงมาลีฮวนน่ายังขาดนักดนตรีมืออาชีพเข้ามาเสริมในตำแหน่งที่ว่างอยู่ จึงนำนักดนตรีเล่น เบส สุรพงษ์ เรืองณรงค์ คีบอร์ด อรรณพ อินทรภักดี แอคคอเดียน ขลุ่ย ไพฑูรย์ รักษ์รงค์ และนำเพลง เขเรือ ซึ่งประพันธ์โดย คุณสุมิตร นวลมณี เข้ามาเสริมเพื่อความสมบูรณ์ของอัลบั้ม เพลงคนเลว ของนักเขียนกวีซีไรท์ ปี 2539 คือ คุณกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวงสะพาน เป็นกลุ่มนักเขียนนักประพันธ์เพลงอีกกลุ่มหนึ่งของภาคใต้ เช่น กิ๊ฟ ชาญณรงค์ เที่ยงธรรม ฯลฯ

ก่อนอื่นก็ ขอบคุณเว๊บข้างล่างนี้ด้วยนะครับ มีข้อมูลดีๆให้ผมและทุกท่าน
v
v
v
v

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมานะครับ